TKP HEADLINE

ถ้ำเทพนิมิตนาคราช

ถ้ำเทพนิมิตนาคราช สถานที่ท่องเที่ยวเเห่งใหม่ ใน ตำบลนาดง อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ ณ เทพนิมิตรบังบด บ้านห้วยมะยม & บ้านดาลบังบด มองย้อนกลับไปฤดูฝนปี 2563 หลังจากผมอัพภาพชุดถ้ำนาคาในส่วนลำตัว และเศียรนาคา 1 ได้ไม่นานนัก ก็ได้แวะมาเก็บภาพในพื้นที่บังบดแห่งนี้ ด้วยสภาพป่ารกทึบ ทว่าก็ได้ภาพดังใจ มีเวลาว่างเมื่อไหร่ก็แวะเวียนมาบันทึกภาพเรื่อยๆ ทุกครั้งจะได้ภาพใหม่ไม่ซ้ำเดิม ภายในวัดมีก้อนหินใหญ่ มีรูปปั้นหลากหลายตามฝีมือช่างท้องถิ่น อ่านต่อ



ด้านการจักสาน : นางสรวง สุวรรณ

นางสรวง  สุวรรณ  เกิดเมื่อวันที่  1  มกราคม  2491    ได้มีแนวความคิดสืบทอดภูมิปัญญา การเรียนรู้จากพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ที่นำไม้ไผ่มาจักสานเพื่อประดิษฐ์ของใช้ที่จำเป็นไว้ใช้ในครัวเรือน และเครื่องมือจับปลาต่างๆ และได้ทำมาตลอด รวมทั้งได้ถ่ายทอดความรู้ในการจักสาน จนปัจจุบันเกิดความชำนาญและทำขายให้แก่เพื่อนบ้านเพื่อหารายได้ลดรายจ่ายให้ครอบครัว อ่านต่อ




ภูมิปัญญาท้องถิ่น : ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจรเป็นพืชสมุนไพร รสขม  มีการใช้กันมานานแล้ว ซึ่งมีสรรพคุณบรรเทาอาการของโรคหวัด เช่น ไข้  ไอ เจ็บคอ มีนักวิจัยสนใจศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมุนไพรฟ้าทะลายโจร โดยพบว่าสารสำคัญที่ชื่อว่า “แอนโดรกราโฟไลด์” (andrographolide)  มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส จากผลการวิจัยดังกล่าวทำให้มีประชาชนจำนวนมากสนใจที่จะซื้อยาฟ้าทะลายโจร นำมารับประทานเพื่อบรรเทาอาการโรค โควิด-19 อ่านต่อ



ภูมิปัญญาท้องถิ่น : อัญชัน

อัญชัน หลายคนมักจะคุ้นหน้าคุ้นตา กับ “ดอกอัญชัน” สีม่วงหรือสีน้ำเงินเข้ม ทว่าในความเป็นจริงแล้วดอกอัญชัน มีหลายสี เช่น สีม่วง สีน้ำเงินเข้ม สีขาว และขาวแบบมีลวดลาย ชื่อวิทยาศาสตร์ของดอกอัญชันคือ Clitoria ternatea L. วงศ์ Fabaceae ชื่ออื่น แดงชัน เอื้องชัน อัญชันเป็นไม้เถาล้มลุก เลื้อยพัน ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ มีสีน้ำเงินแก่ ชมพูหรือขาว ผลเป็นฝัก แบนยาว ส่วนการขยายพันธุ์ที่นิยมคือการเพาะเมล็ด อัญชันดอกสีขาว แก้พิษ ทั้งพิษงู พิษสุนัขบ้า ถึงขนาดมีความเชื่อว่า เอารากผูกแขนไว้กันงูเวลาเข้าป่า และใช้รากฝนกินแก้พิษต่างๆ อ่านต่อ



ก.กก บึงกาฬ

“ต้นกก” ทุนทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญและมีมากของเมืองบึงกาฬ ในอดีตนำมาทำเสื่อกกเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทย ปัจจุบันเกิดการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานและประณีตขึ้น ประกอบกับการออกแบบที่สร้างเอกลักษณ์ สอดแทรกเรื่องราวผ่านลวดลายลงบนเสื่อกก เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น กระเป๋า กล่องทิชชู หมวก และของใช้อื่นๆ ทำให้มูลค่าเสื่อจาก 100 บาท เป็นเป็น 1,000 – 2,000 บาท นอกจากความสำเร็จในการเพิ่มทักษะ สร้างอาชีพให้กลุ่มเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม เกิดการรวมกลุ่มจัดตั้ง ‘กลุ่มวิสาหกิจชุมชน’ในชื่อ‘กลุ่มผลิตภัณฑ์จากกกและผือพื้นที่โลกชุมน้ำกระทิง’ เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์ ภายใต้แบรนด์ ‘ก.กกบึงกาฬ’ อ่านต่อ



วัดอาฮงศิลาวาส

วัดอาฮงศิลาวาส  ตั้งอยู่เขตพื้นที่บ้านอาฮง  อ. เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ  ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 21 ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณแก่งอาฮง แอ่งน้ำขนาดใหญ่จากฝั่งไทยถึงฝั่งลาวที่มีความยาวประมาณร้อยกว่าเมตร วัดอาฮงศิลาวาส เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดบึงกาฬ  ด้วยเหตุที่มีวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม พื้นที่ติดกับแม่น้ำโขงเป็นแนวโค้งยาวประกอบกับมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องพญานาค ทำให้นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาที่วัดอาฮง และแก่งอาฮง อย่างไม่ขาดสาย อ่านต่อ



"นาทองคำ" เกษตรทฤษฎีใหม่

นายอาทิตย์ หนูกล้วย เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้ความสามารถด้านการทำเกษตรธรรมชาติ ยึดถือและปฏิบัติตามหลักการและแนวทางของเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยมีการแบ่งพื้นที่สำหรับการจัดการน้ำ การปลูกข้าวนาโยน การปลูกพืชผักผสมผสาน ไม้ผล ไม้ยืนต้นพืชสมุนไพร การเลี้ยงเป็ด เลี้ยงปลา เลี้ยงวัว เลี้ยงหมู ถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวเป็นอย่างดี มีการสืบสานและพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ โดยการรวมกลุ่มต่างๆ อ่านต่อ




ผ้าขาวม้าทอมือ บ้านอาฮง ตำบลไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

             การทอผ้าขาวม้าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องจากวิถีชีวิตของชาวบ้าน ผูกพันกับประเพณีและวัฒนธรรม เป็นไปด้วยความรัก ความสามัคคี ความเสียสละ ความซื่อสัตย์ และการเอื้ออาทรซึ่งกันและกันทำให้กลุ่มทอผ้าไทยทรงดำ มีพัฒนาการที่ดีขึ้นในทุก ๆด้าน เช่น ด้านการบริหารงาน ด้านการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ด้านการตลาด ด้านบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของกลุ่มทอผ้า ทำให้เกิด ผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าทอมือ ที่มีคุณค่า การถักทอผ้าแต่ละชิ้นเต็มไปด้วยสายใยแห่งภูมิปัญญา คุณค่าแห่งวัฒนธรรม และนำไปสู่ผลิตภัณฑ์แหล่งความภูมิใจจะนำเสนอ คือ ผ้าทอ  สายใยชีวิตให้กับคนทั่วไปรู้จัก ผ้าขาวม้าทอมือมากขึ้นด้วย อ่านต่อ



ข้าวเม่าแม่น้อย

ชาวบ้านห้วยไม้ซอดส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ในสมัยก่อนต้องใช้ควายทำนา ผลผลิตที่ได้ก็จะเก็บไว้กินและขายบ้าง ข้าวเม่าบ้านห้วยไม้ซอด ได้รับการถ่ายทอดการทำข้าวเม่าจากคุณแม่และป้าๆ ได้ทำข้าวเม่ากินเองในครอบครัวและเครือญาติ ระยะหลังได้ลองนำไปขายที่ตลาดและได้รับความสนใจจากลูกค้า อ่านต่อ



บ้านสวนทุเรียน ตำบลนากั้ง

บ้านสวนทุเรียน ตำบลนากั้ง อยู่ในหมู่บ้านที่เป็นพื้นที่ชายแดนติดริมโขง เจ้าของพื้นที่ได้จัดทำบ้านสวนทุเรียนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรกรรม มีการนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรม การศึกษาดูงาน มาปฏิบัติจริงในพื้นที่ของตัวเอง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการดำรงชีวิต  และเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลนากั้ง อ่านต่อ



ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดบึงกาฬ. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand