ส้มหมู เป็นอาหารที่มีความนิยมทางภาคอิสาน และเป็นอาหาร ที่จัดอยู่ในรูปแบบ ของการแปรรูปอาหาร และการถนอมอาหาร ให้มีลักษณะแปลกใหม่ แตกต่างไปจากเดิม และเพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณภาพ สามารถเก็บไว้รับประทานได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการทำส้มหมูเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนไทยซึ่งเกิดมาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยมักจะใช้เนื้อหมู เนื้อวัว และเนื้อควาย ซึ่งนําไปปรุงรส แล้วห่อใบตอง จะสามารถเก็บเนื้อสัตวไวรับประทานได้นานขึ้น อ่านต่อ
TKP Start UP
ประวัติหน่วยงาน
ฟาร์มตัวอย่างห้วยหินลาด
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จ ฯ มาทรงเยี่ยมราษฎรบ้านห้วยหินลาด อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ เมื่อวันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2548 ทรงได้รับทราบถึงความยากจนของราษฎรขาดแคลนที่ดินทำกิน และว่างงานเป็นจำนวนมาก ต้องเร่ร่อนไปรับจ้างหางานในต่างถิ่นรายได้ไม่แน่นอน ราษฎรได้ขอพระราชทานความช่วยเหลือของานทำ อ่านต่อ
แก่งอาฮอง
แก่งอาฮองเป็นแก่งที่เกิดจากธรรมชาติ เป็นแก่งหินกลางลำโขง และจะสามารถมองเห็นแก่งหินได้ชัดในช่วงเดือน มีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม ของทุกปี กลุ่มหินที่มองเห็นในแก่งอาฮอง ชาวบ้านจะเรียกตามลักษณะของหิน เช่นหินลิ้น หินปลาแข้ ฯลฯ แก่งอาฮอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญของตำบลนากั้ง เพราะเดือนเมษายนของทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวมาชม และเล่นน้ำกันโดยเฉพาะช่วงสงกรานต์ และชาวบ้านที่อาศัยอยู่โดยรอบ ยังอาศัยทำการประมงด้วย อ่านต่อ
กลุ่มแปรรูปข้าวเม่าบ้านห้วยไม้ซอด ตำบลปากคาด
กลุ่มข้าวเม่าตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2543 เริ่มจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาจากหน่วยงานเกษตรอำเภอ โดยจัดตั้งกลุ่มครั้งแรกมีสมาชิก 16 คน โดยมีแม่บุญมี หลานท้าวเป็นประธานกลุ่ม ต่อมากลุ่มข้าวเม่าได้ขยายและมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อ่านต่อ
วัดสว่างอารมณ์ (วัดถ้ำศรีธน)
วัดสว่างอารมณ์ หรือวัดถ้ำศรีธน ตั้งอยู่ หมู่ 1 บ้านโนนศิลา ต.โนนศิลา อ.ปากคาด จ.บึงกาฬ สร้างขึ้นเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2425 โดยท้าวขุนไกร ซึ่งอพยพมาจากฝั่งลาวมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำโขง ใกล้บ้าน ห้วยคาด ภายหลังจึงตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านปากคาด" อ่านต่อ
วัดเซกาเจติยาราม (พระอารามหลวง)
วัดเซกาเจติยาราม เดิมทีแล้วไม่ใช่ชื่อนี้ แต่ชื่อเดิมก็คือ วัดบ้านเซกา ซึ่งมีการเปลี่ยนชื่อวัดเมื่อปี 2552 จนถึงปัจจุบันนี้ ก็ยังคงใช้ชื่อนี้ก็คือ “วัดเซกาเจติยาราม” มาโดยตลอด มีการเริ่มสร้างวัดตั้งแต่ปี 2518 และเมื่อปี 2525 ก็มีการก่อตั้งวัดขึ้นมาโดยพระครูสันติปัญญาภรณ์ ซึ่งในปัจจุบันนี้ วัดเซกาเจติยาราม เป็นพระอารามหลวงแล้ว เป็นวัดประจำจังหวัดบึงกาฬที่ใครๆต่างก็รู้จักและเดินทางมาที่นี่บริเวณทั้งหมด เนื้อที่ของหวัดทั้งหมดมีประมาณ 83 ไร่ ซึ่งกว้างขวางมากพอที่จะทำพิธีกรรมต่างๆที่สำคัญทางศาสนาในวันสำคัญ อ่านต่อ
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านโนนสูง จุดการเรียนรู้ พานบายศรี
การทําบายศรีเป็นงานประดิษฐ์ที่ตกทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตแบบไทยเป็นงานที่มีความประณีต มีความงามและมีคุณค่าทางศิลปะ มีความเป็นเอกลักษณ์มีการนําวัสดุธรรมชาติ ที่มีในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ในบ้านโนนสูงมีการถ่ายทอดภูมิปัญญานี้แก่ลูกหลานรักษาไว้ให้คงอยู่คู่ชุมชนต่อไป อ่านต่อ
แหล่งเรียนรู้ในชุมชนตำบลนาสิงห์
หินสามวาฬ
ปุ๋ยชีวภาพในชุมชน
การทำปุ๋ยไว้ใช้เอง โดยที่ไม่พึ่งพาสารเคมีทำให้เรามั่นใจได้ว่าปุ๋ยที่เราใส่บำรุงพืชผักที่เราปลูกจะปลอดภัยแน่นอน ซึ่งการทำปุ๋ยนี้นอกจากจะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ปลอดภัยแล้วเรายังสามารถนำมาใช้เป็นกิจกรรมยามว่างร่วมกันภายในครอบครัว หรือ ในชุมชนได้อีกด้วย การทำปุ๋ยโดยมีหลักการคือ เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช และให้พืชเลี้ยงเรา อ่านต่อ
ภูทอก
ภูทอก เป็นที่ตั้งของ วัดเจติยาศรีวิหาร หรือ วัดภูทอก ตั้งอยู่ในเขตบ้านคำแคน ตำบลนาสะแบง จังหวัดบึงกาฬ โดยมี พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ เป็นผู้ก่อตั้ง ซึ่งคำว่า ภูทอก ในภาษาอีสานนั้น แปลว่า ภูเขาโดดเดี่ยว ที่นี่จะมีภูเขาอยู่ 2 ลูก ด้วยกัน คือ ภูทอกใหญ่ และ ภูทอกน้อย ส่วนที่สามารถชมได้คือ ภูทอกน้อย ส่วนภูทอกใหญ่จะอยู่ห่างออกไป และยังไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม อ่านต่อ
อ่างเก็บน้ำบ้านนาต้อง
อ่างเก็บน้ำบ้านนาต้อง ตั้งอยู่บ้านนาต้อง ตำบลชัยพร อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ หนึ่งในโครงการพระราชดำริในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เป็นการพัฒนาด้านแหล่งน้ำเพื่อให้ประชาชนใช้ในการอุปโภคบริโภคและคลอบคลุมพื้นที่ทางการเกษตร ห่างจากวัดเจติยาคีรีวิหารหริอวัดภูทอก ประมาณ 3 กิโลเมตร อ่านต่อ
ประวัติความเป็นมาสถูปเจ้าแม่แคนเฮือ
ตำบลดอนหญ้านาง อำเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ มีธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีต้นไม้แคนขนาดใหญ่เป็นรู้จักแก่คนในตำบลดอนหญ้านาง และตำบลใกล้เคียง เมื่อกลางพรรษา ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ประมาณเดือนกันยายน ต้นๆ เดือน ต้นแคนเฮือหรือไม้ตะเคียนหิน ไม้คู่บ้านคู่เมืองของชาวบ้านดอนหญ้านางเป็นไม้ขนาดใหญ่วัดโดยรอบโคนต้นได้เส้นรอบวงยาว ๔ เมตรเศษ และมีความสูงจากโคนถึงยอดยาวประมาณ ๓๐ เมตรเศษ สันนิฐานว่าเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติแต่ในปีใด ไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอนว่าเกิดขึ้นในปีใด อ่านต่อ
ศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
สภาพพื้นที่อำเภอพรเจริญส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นลอนลูกระนาด ลาดเอียงจากทิศตะวันออก ไปทิศตะวันตก ที่ดอนส่วนใหญ่ปลูกยางพารา คิดเป็น ร้อยละ ๕๓ ที่ราบลุ่มทำนาปี คิดเป็น ร้อยละ๓๘ และมีพืชอื่น ได้แก่ ปาล์มนำมันและมันสำปะหลังโรงงานอีกบางส่วน แต่เกษตรกรที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ประสบปัญหาผลผลิตมี คุณภาพต่างๆ ปุ๋ยเคมีราคาสูง จึงมีแนวทาวส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองเพื่อลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต อ่านต่อ
ภูสิงห์ หินสามวาฬ
ภูสิงห์ เป็นภูเขาหินทรายอยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงดิบ กะลา ป่าภูสิงห์ และป่าดงดิบสีชมพู มีเนื้อที่ประมาณ 12,000 ไร่ โดยครอบคลุมพื้นที่อำเภอศรีวิไล กับอำเภอเมืองบึงกาฬ ซึ่งภูเขาหินทรายบนภูสิงห์เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาของเปลือกโลกในลักษณะต่างๆ ทำให้มีการเรียงตังของก้อนหิน เกิดหน้าผา และถ้ำ เกิดกลุ่มหินรูปทรงต่างๆ บนลานหินกระจายทั่ว ภูสิงห์ สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้น และชมพระอาทิตย์ตกได้ อ่านต่อ
อาชีพมัคคุเทศก์ (TOUR GUIDE)
พกใจ..เป็นไกด์ไปท่องเที่ยว (TOUR GUIDE) ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศที่สวยงามมีความหลากหลายในสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น จึงทำให้มีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย และประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวถือได้ว่าเป็นรายได้หลักที่นำเงินเข้าประเทศได้จำนวนมากในแต่ละปีและการเพิ่มปริมาณของจำนวนนักเที่ยวที่มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น อ่านต่อ
แห่เทียนพรรณษา อำเภอโซ่พิสัย
ประเพณีแห่งเทียนพรรษานั้น เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา 3 เดือน การนำเทียนไปถวายชาวบ้านมักจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณี อ่านต่อ
ปราชญ์ชาวบ้าน นายประทวน เกตุแก้ว
นายประทวน เกตุแก้ว เคยเป็นผู้ทำการเกษตรแบบธรรมชาติ โดยเพาะปลูกพืชผักตามฤดูกาล และหันมาปรับเปลี่ยนเป็นการเพาะปลูกแบบเกษตรเชิงเดี่ยว ตามคำเชิญชวนของบริษัทเอกชน ปลูกไผ่เลี้ยง ซึ่งสร้างรายได้ดีในช่วงแรกแต่สุดท้ายเกิดมีหนี้สิน เนื่องจากกิจกรรมทางการเกษตรแต่ละอย่างมีต้นทุนที่สูง ประกอบกับในกระบวนการผลิตยังมีการใช้สารเคมีในปริมาณสูง เพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมากและมีคุณภาพ ส่งผลให้มีสุขภาพไม่ดี จึงหันกลับมายึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยทำการเกษตรแบบอินทรีย์ มีการทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุนเพื่อวิเคราะห์ตนเอง จนสามารถปลดหนี้สินได้สำเร็จ และดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 15 ปี อ่านต่อ
ถ้ำนาคา
ถ้ำนาคา ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูลังกา บริเวณวัดถ้ำชัยมงคล ตำบลโพธิ์หมากแข้ง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาที่เกิดจากพื้นผิวของหินเกิดการกัดกร่อนไปตามปรากฏการณ์ซันแครก (Sun Crack) ทำให้มีลวดลายคล้ายเกล็ดปลาหรือเกล็ดงู ประกอบกับการโค้งตัวของหินทำให้รูปร่างโดยรวมคล้ายกับการขดตัวของงูใหญ่หรือพญานาค (ตามความเชื่อ) โดยในแต่ละฤดูกาลจะให้ภาพและบรรยากาศแตกต่างกันไป ฤดูฝนจะเกิดมอสส์ เฟิร์น และพืชพรรณต่าง ๆ เกาะตามผิวหินทำให้ดูมีชีวิตชีวา ฤดูร้อนจะเห็นผิวหินชัดเจน และระหว่างทางจะเต็มไปด้วยบรรดาพืชพรรณดอกไม้ อ่านต่อ
การสานกระติบ
การสานกระติบ เป็นงานหัตถกรรมที่มีพื้นฐานมาจากสังคมเกษตรกรรม และค่านิยมในการบริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักของคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ก่อให้เกิดเป็นภูมิปัญญาพื้นถิ่นที่ตกทอดและสืบสานกันมาจากรุ่นสู่รุ่น รูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจึงเป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีความ งามบริสุทธิ์แบบธรรมชาติ สะท้อนถึงความเป็นอิสระและการแสดงออกถึงความเฉลียวฉลาดและความสามารถของผู้จักสาน ชี้ให้เห็นคุณค่าทางอารธรรมในการเข้าใจใช้วัสดุธรรมชาติให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมของการดำรงชีวิต อีกทั้งยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานอีกด้วย อ่านต่อ
แหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตความพอเพียง
แหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตความพอเพียง ภายใต้ชื่อว่า แปลงวนเกษตรต้นแบบ ในเขตปฏิรูปที่ดิน ของแม่พอ (เพียง) นางกัญญารัตน์ สุวิชัย เกษตรกรหญิงหัวใจแกร่งที่ได้สร้างพื้นที่ของบรรพบุรุษเป็นพื้นป่าให้มีคุณค่า ภายในพื้นที่ได้มีการปลูกพืชสวน ไร่อ้อย เลี้ยงสัตว์ และเพาะกล้าไม้นานาชนิด แบ่งเป็นสัดส่วนระเบียบเรียบร้อย เหมาะแก่การเรียนรู้วิถีชีวิตของความเป็นอยู่ที่พอเพียง อ่านต่อ
ขนมไทย สร้างอาชีพ
ขนมไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจง อ่านต่อ
ผ้าฝ้ายหมักโคลน
“ผ้าฝ้ายหมักโคลนบ้านโนนศิลา” ตั้งอยู่ที่ บ้านโนนศิลา หมู่ 1 ตำบลโนนศิลา อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ การทอผ้าของชาวโนนศิลา มีมาตั้งแต่รุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นการสืบทอดภูมิปัญญา ในการถักทอเครื่องนุ่งห่มเพื่อใช้ในครัวเรือน ใช้ช่วงเวลาว่างหลังฤดูทำนา ทำสวน รวมตัวกันตั้งกลุ่มทอผ้าหมักโคลนขึ้นมา โดยทุกขั้นตอนการทอจะทำด้วยมือทั้งหมด
จากเส้นฝ้าย ไหมย้อย พร้อมกี่หูก
นำมาผูก เส้นพุ่งยืน เป็นผืนผ้า
ก่อกำเนิดผ้าหมักโคลนโนนศิลา
สวยงามตาเอกลักษณ์ไทยน่าชื่นชม
วันผลไม้ บั้งไฟประเพณี ของดีเมืองปากคาด
บุญบั้งไฟ เป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือนของชาวอีสาน นิยมทำกันในเดือน 6 หรือเดือน 7 อันเป็นช่วงฤดูฝนเข้าสู่การทำนา ตกกล้า หว่าน ไถ เพื่อเป็นการบูชาแถนขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล เหมือนกับการแห่นางแมวของคนภาคกลาง อ่านต่อ